นโยบายโซล่าเซลล์ของประเทศไทย

  

นโยบายโซล่าเซลล์ของประเทศไทย

นโยบายโซล่าเซลล์ของประเทศไทย

ตัวอย่างนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมโซล่าเซลล์ของไทย สำหรับประเทศไทยนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์เช่นเดียวกับประเทศ

อื่นๆ โดยภาครัฐได้ออกนโยบายเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมโซล่าเซลล์ของไทยทั้งทางด้านการผลิตและการ ใช้งาน ตัวอย่างนโยบาย อาทิ
1) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP2018) โดยกรมพัฒนา
พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการผลิตพลังงาน จากวัตถุดิบพลังงานทางเลือกที่มีอยู่ภายในประเทศ การพัฒนาศักยภาพการผลิตและการใช้พลังงานทางเลือก ด้วยเทคโนโลยีที่หมาะสม โดยมีเป้าหมาย คือ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกใน
รูปของพลังงานไฟฟ้า ความร้อนและเชื้อเพลิงชีวภาพต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายที่ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 (2037)
ทั้งนี้ เป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในรูปของพลังงานไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2580 (2037 ) ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ 12,139 เมกะวัตต์ (MW) และพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ 2,725 เมกะวัตต์ (MW)

2) แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 โดยสำนักงาน
นโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
สำหรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งเป็น แผนหลักในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศนั้น ได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในราย
ภูมิภาคที่ครอบคลุมตั้งแต่ระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า ไปจนถึงระบบจำหน่ายไฟฟ้า และผลิตไฟฟ้าให้ สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้งานไฟฟ้าตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศ โดยหนึ่งในเป้าหมายหลักของการจัดทำแผน PDP2018 Revision1 คือ การผลิตและ การรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนตามนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งประกอบด้วย ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้า พลังน้ำและโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กของ กฟผ. รวมถึงพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ โดยจะมีการรับซื้อเป็นรายปี และรับซื้อในราคาไม่เกินราคาขายส่งเฉลี่ย เพื่อรักษาระดับราคาไฟฟ้าขายปลีกไมให้สูงขึ้น

ทั้งนี้ เป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2561-2580 ตามแผน PDP2018 Revision1 นั้น ระบุว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้ทั้งสิ้น 18,833 เมกะวัตต์ (MV) ในขณะที่กำลังการผลิตไฟฟ้าใหมในช่วงปี พ.ศ. 2561-2568 นั้น พบว่า ไทยจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนได้ 3,185 เมกะวัตต์

3) การขอรับการส่งเสริมการลงทุน 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้มีมาตรการการส่งเสริมการลงทุนสำหรับ ผู้ประกอบการที่ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์และผู้ประกอบการที่นำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งาน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
2.1) ผู้ประกอบการที่ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ สำหรับกิจการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ และ/หรือวัตถุดิบ สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์นั้น จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนหากการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์มี กรรมวิธีการผลิตและ Energy Yield ตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ A2 คือ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร ยกเว้นอากรของนำเข้าเพื่อวิจัย ยกเว้นอากร วัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี ได้แก่ การถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน การนำเข้าช่างฝีมือ
และผู้ชำนาญการ วีซ่าและใบอนุญาตทำงาน การนำเข้าคนต่างด้าวเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุน และการส่งออก เงินตราต่างประเทศ เป็นต้น และหากผู้ประกอบการอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ก็จะได้รับ การส่งเสริมสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก BOเ เพิ่มเติม คือ ได้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่ม 50% อีก 3 ปี (กรณีที่มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) และได้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่ม 50% อีก 2 ปี ในกรณีที่ลงทุนใน พื้นที่เฉพาะใน EEC17
2.2) ผู้ประกอบการที่นำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งาน เช่น การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงงาน เป็นต้น18 สามารถขอส่งเสริมได้ตามมาตรกรย่อย เรื่อง การลงทุนด้านการประหยัดพลังงาน การลงทุนเพื่อใช้ พลังงานทดแทน หรือการลงทุนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมาตรการดังกล่าวครอบคลุมกรณีการ ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามสัดส่วนที่กำหนด ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อลดการใช้พลังงาน ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อให้เกิดการนำพลังงานทดแทนมาใช้ และ ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเวันภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี วงเงิน 50% ของเงินลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ รวมถึงยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร19

นอกจากนี้ กิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้โซล่ร์ซลล์อย่างกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงาน ไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงนหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊ซชีวภาพ เป็นต้น (กิจการประเภท7.1.1.2) ก็ได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้วยเช่นกัน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ A2 เช่นเดียวกับกิจการผลิตเซลล์ แสงอาทิตย์ และ/หรือวัตถุดิบสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ (กิจการประเภท 5.4.2)

นอกจากนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมโซล่ร์เซลล์แล้ว ภาครัฐยังออกนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการซากเซลล์แสงอาทิตย์หรือแผงโซล่าเซลล์ด้วย โดยแผงโซล่าเซลล์และส่วนประกอบนั้นมีอายุการใช้งาน โดยเฉลี่ยประมาณ 20 ปี2 และการใช้งานโซล่าร์ซลล์ที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในปัจจุบันอาจนำไปสู่ปัญหา ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มสูงขึ้นได้ในอนาคต จึงต้องมีกระบวนการจัดการขยะและการรีไซเคิลที่ เหมาะสมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างในสหภาพยุโรปนั้น แผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน แล้วจะถือเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ และต้องจัดการตามกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับการดำเนินงานของประเทศไทยนั้น พบว่า กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้มีร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์21 ซึ่งภายใต้ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บ รวบรวม คัดแยก ถอดชิ้นส่วน และกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ตัวอย่างมาตรา เช่น
- มาตรา 29 ห้ามมีให้ผู้ใดทิ้งหรือทำลายซากผลิตภัณฑ์ในที่สาธารณะที่รกร้างว่างเปล่าหรือทิ้งปนอยู่ กับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยต้องนำไปคืนที่ศูนย์รับคืนซากผลิตภัณฑ์
- มาตรา 32 การจัดตั้งศูนย์รับคืนชากผลิตภัณฑ์ให้ดำเนินการโดยราชการส่วนท้องถิ่น เอกชน ผู้ผลิต หรือผู้ผลิตร่วมกับผู้ผลิตรายอื่น หรือผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ. ดังกล่าวอยู่ระหว่างกรพิจารณาปรับแก้ไขตัวร่างและยังไม่มี กำหนดการเผยแพร่หรือบังคับใช้ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2564) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในเบื้องต้นร่งกฎหมายดังกล่าวจะครอบคลุมแค่ผลิตภัณฑ์ 5 ประเภท ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ และตู้เย็น แต่ในอนาคตอาจครอบคลุมถึง ผลิตภัณฑ์แผงโซล่าร์ซลล์ด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งานอย่างมี ประสิทธิภาพ

ส่วนกรมโรงงานอุตสาหกรรมและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้น ได้ศึกษาแนวทางบริหาร จัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่2 โดยผลการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ในปัจจุบันการบริหาร จัดการขยะจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทยยังใช้วิธีการคัดแยกขยะแล้วนำไปย่อยสลายเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนเข้าตามกระบวนการและนำทิ้งในหลุมฝังกลบตามกฎหมาย ดังนั้น การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโรงงาน รีไซเคิลแผงซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนให้เกิดการ บริหารทรัพยากรในประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ในขณะที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร) กระทรวงอุตสาหกรรมนั้น ได้มีการพัฒนา เทคโนโลยีรีไซคิลซากแผงซลล์แสงอาทิตย์อย่างครบวงจร" โดยเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแต่งแร่และ
โลหการที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถรีไซเคิลส่วนประกอบต่าง ๆ ได้แก่ เศษกระจกโลหะผสมซิลิกอน เงินบริสุทธิ์ ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียม และผงเงิน ให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมได้ ซึ่งถือเป็น ความสำเร็จครั้งแรกของประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ภาครัฐไทยได้เตรียมการเพื่อรับมือกับซากเซลล์แสงอาทิตย์บ้างแล้ว ทั้งนี้ ภาครัฐควรเร่ง ผลักดันให้กฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็ กทรอนิกส์และแผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีผลบังคับใช้อย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับซากเซลล์แสงอาทิตย์ที่จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลในอนาคต

สรุป
เราคงไม่อาจปฏิเสธทรนด์รักษ์โลกและการลดการปล่อยคาร์บอนได้ เนื่องจากประเทศผู้นำทาง เศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร ต่างก็ขานรับเทรนด์ดังกล่าวพร้อมทั้งออก นโยบายสนับสนุนในการเลือกใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนอย่างการผลิตไฟฟ้าด้วยเชลล์ แสงอาทิตย์ สำหรับประเทศไทยนั้น หากภาครัฐมีนโยบายให้การสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต พลังงานไฟฟ้าด้วยเชลล์แสงอาทิตย์ก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้ภาคเอกชนเร่งทำการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและ เทคโนโลยีจนทำให้อุปกรณ์ต่างๆ มีต้นทุนในการผลิตและการติดตั้งที่ถูกลง และประชาชนก็จะสามารถเข้าถึง การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ การสนับสนุนอุตสาหกรรมดังกล่าวยังเป็นแรงกระตุ้น ภาคธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องตามมา เช่น ธุรกิจการผลิตอินเวอร์เตอร์และวัสดุอุปกรณ์ของระบบโซล่าเซลล์ ธุรกิจการออกแบบและติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ งานด้านบำรุงรักษา เป็นต้น รวมไปจนถึงเกิดการพัฒนา ระบบ กักเก็บพลังงานอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้ระบบการควบคุมการทำงานผ่านแพลตฟอร์มและ อุปกรณ์ดิจิทัล และการใช้ CCTV และเซ็นเซอร์ในการอ่านข้อมูลต่างๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาครัฐจะออกนโยบายเพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดภายในประเทศ และเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตและส่งออกโซล่าเซลล์ไปยังประเทศคู่ค้าได้มากขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอื่นๆ ด้วย กล่าวคือหลายประเทศทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงนแสงอาทิตย์และสนับสนุนให้เกิดการผลิตภายในประเทศ ทำให้ใน ปัจจุบัน ประเทศคู่ค้าของไทยหลายรายเริ่มมีการออกมาตรการกีดกันทางค้าเพื่อหวังที่จะลดการพึ่งพาการ
นำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีป ระเด็นปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้า โดยจีนซึ่งเป็น ผู้ผลิตโชล่าร์เชลล์รายใหญ่ของโลกกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนโพลีซิลิคอน และการขาด แคลนกระจกในการผลิตแผงโซล่าเซลล์ เนื่องจากความต้องการโซล่าเซลล์ทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น24 ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือและหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการผลิต และการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า


ENRICH ENERGY ผู้นำด้าน โซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร โดยทีมงานโซล่าร์มืออาชีพ


ENRICH ENERGY ผู้นำด้าน โซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร โดยทีมงานโซล่าร์มืออาชีพ

สนใจ โซล่ารูฟท็อป หรือ อินเวอร์เตอร์ สามารถติดต่อเราได้ที่ 065-845-8698

ต้องการทราบรายละเอียดการติดตั้งระบบ โซล่ารูฟท็อป คลิก https://bit.ly/solarrich

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สินเชื่อโซล่าเซลล์ การลงทุนสู่อนาคตพลังงานสะอาดและความยั่งยืน

Solar API เทคโนโลยีใหม่ของ Google สิ่งที่ช่วยคำนวณการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ทั่วโลก

โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ vs สปอร์ตไลท์โซล่าเซลล์ ใช้งานต่างกันอย่างไร?